กิจกรรมที่ 2
ทฤษฏีการศึกษา
มาสโลว์ เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม ได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ
แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
1. ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่อาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2. ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม คือ ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
1. ความต้องการทางกายภาพ คือ ความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่อาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2. ความต้องการความปลอดภัย คือ ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม คือ ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น ต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4. ความต้องการยกย่องชื่อเสียง คือ ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต
คือ
ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์
Douglas
Mc Gregor : ทฤษฎี X
และทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม
ทฤษฎีX (Theory X)
เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y (Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
ทฤษฎี Y (Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
William
Ouchi : ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีการคิดนอกครอบ
หรือกลุ่มทฤษฎีร่วมสมัยเป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์
การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎีZ ได้นั้น
ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎีJ ก่อน
ทฤษฎี A คือทฤษฎีที่ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า
การจ้างงานตลอดชีวิต
และการบริหารจัดการที่ต้องการตัดสินโดยได้รับการยอมรับจากที่ประชุม
4. การบริหารเป็นวิชาชีพชั้นสูง
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
1. ความเป็นมาและพัฒนาการบริหาร
-
ตั้งแต่ ค.ศ. 25 เริ่มมีการบริหารเน้นไปทางรัฐประศาสนศาสตร์
-
ต่อมาวงวิชาการเริ่มพัฒนาการบริหารให้เป็น
ศาสตร์ สาขาหนึ่ง
2. ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
เป็นวิธีที่นำสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้า
3. ความหมายของการบริหารและการบริหารการศึกษา
การบริหาร หมายถึง
การนำนโยบายไปปฏิบัติให้บังเกิดผลงาน
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ
เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน4. การบริหารเป็นวิชาชีพชั้นสูง
เพราะตำแหน่งนักบริหารจะต้องได้รับการศึกษาอบรมทางด้านบริหารมากพอสมควร
5. การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็นศาสตร์เพราะการบริหารมีองค์ความรู้
หลักการละทฤษฎี
การบริหารเป็นศิลป์เพราะสามารถหลักการและทฤษฎีการบริหารมาประยุกต์ใช้ได้ ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องเป็นผู้ที่สามารถประยุกต์เอาศาสตร์การบริหารไปใช้อย่างมีศิลปะ
6. ปรัชญาของการบริหารการศึกษา
-
ผู้บริหารต้องมีไหวพริบในการแก้ปัญหา
-
ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการทำงาน
-
ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายการศึกษาเป็นหลัก
-
ผู้บริหารถือว่าตนเองเป็นเพียงผู้ประสานประโยชน์
-
ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองเป็นผู้นำมิใช่เจ้านาย
-
ผู้บริหารถือว่าตนเองคือนักการศึกษา
-
ผู้บริหารต้องประสานงานและประสานน้ำใจ
-
ผู้บริหารต้องประเมินงานของตนอยู่เสมอ
-
ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร
-
ผู้บริหารต้องหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
1. วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ
ระยะที่
1
การบริหารเป็นไปในองค์การรูปนัย
ระยะที่
2
การบริหารเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ของคน
ระยะที่
3
การศึกษาหันมาผสมผสานแนวคิด พิจารณาทั้งรูปแบบ
โครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นองค์ประกอบสำคัญ
2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
การพัฒนาหลักการบริหารทำให้เกิดความต้องการวิธีการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น
ทำให้การบริหารด้านธุรกิจมุ่งแสวงหาผลกำไร
3. การแบ่งยุคของของนักทฤษฎีการบริหาร
- ยุคที่ 1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม
- การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
- ยุคที่ 2 ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์
- การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
- ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร
- ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
- การประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
1. งานของผู้บริหารการศึกษา
- งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารต้องทำ
- งานที่คนนอกมองว่าผู้บริหารควรทำ
- งานที่ตัวผู้บริหารการศึกษาเองคิดว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
2. ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหาร
- ทักษะในคตินิยม ผู้บริหารของโรงเรียนต้องเข้าใจหน่วยงานของตนในทุกลักษณะ เห็นความสัมพันธ์ของหน่วยงานตนต่อหน่วยงานอื่น
และรอบรู้ทุกด้านในศาสตร์ที่เกี่ยวกับการศึกษา
- ทักษะในทางมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความสามารถในการทำงาน
เสริมสร้างพลังความร่วมมือระหว่างสมาชิก มีความมั่นใจ มีความรู้
และมีประสบการณ์ในการทำงาน
- ทักษะในทางเทคนิค เป็นความสามารถในการใช้เทคนิคในการบริหารงาน
เกี่ยวกับกระบวนการ วิธีดำเนินการ
3. การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพของนักบริหาร
ผู้บริหารต้องรู้จักการวางนโยบาย
รู้จักแบ่งงาน วางแผนงาน รู้จักการจัดองค์การ ผู้บริหารต้องใช้บุคลากรให้เป็น
ต้องหาเงินมาเพื่อการบริหาร และผู้บริหารต้องประเมินผลงานอยู่เสมอ
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาจำเป็นต้องมีกระบวนการและขั้นตอนการดำเนินงานอย่างมีระเบียบ
เพื่อให้การผลิตเด็กและเยาวชนเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ
ตรงตามต้องการของสังคมปัจจุบัน
กระบวนการบริหารการศึกษา
ประกอบด้วยขั้นตอน 7 ประการ คือ
1. Planning คือ
การวางแผนหรือกำหนดโครงการ ประกอบด้วยนโยบาย วัตถุประสงค์ แนวปฏิบัติ
และมาตรฐานของงาน
2. Organization คือการจัดอง๕กร
โดยจัดแบ่งองค์กรเป็นหน่วยย่อย พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน
3.
Staffing คือ การดำเนินการบริหารงานบุคคล
เป็นการวางนโยบายและระเบียบในการดำเนินงานเกี่ยวกับบุคคล
4. Directing คือ
การวินิจฉัยสั่งการ การสั่งการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารในการกำหนดให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงาน
5.
Coordinating คือการประสานงานระหว่างหน่วยงาน
เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
6. Reporting คือการรายงานผลการปฏิบัติงาน
และการประชาสัมพันธ์ขององค์การ
7.
Budgeting คือการบริหารงบประมาณการเงิน
บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง
การรวมตัวของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีจุดหมายร่วมกันในการทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยอาศัยกระบวนการจัดโครงสร้างของกิจกรรม
เพื่อแบ่งงานให้แก่สมาชิกในองค์การดำเนินการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย
องค์การที่อยู่รอบตัวเรา คือ
องค์การทางสังคม องค์การทางราชการ และองค์การเอกชน
การจัดองค์การมีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์
องค์ประกอบในการจัดองค์การมีหน้าที่การงานเป็นภารกิจ การแบ่งงานกันทำ
และการรวมและการกระจายอำนาจในการจัดองค์การ
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร (
Communication )
การสื่อสาร
คือกระบวนการติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานระหว่างบุคคล โดยอาศัยการถ่ายทอด
และการรับข้อมูล เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
กระบวนการในการติดต่อสื่อสารมีปัจจัย
3
ตัว คือ สื่อที่ใช้ในการติดต่อ ช่องทางที่สื่อจะผ่าน และกระบวนการ
วิธีการติดต่อสื่อสารในการบริหารโรงเรียน
1. ทางวาจา
คือการประชุมปรึกษาเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล เพื่อครูได้ทราบข้อควรปฏิบัติ
ปัญหาต่างๆที่เกิด ขึ้น ภายในโรงเรียน
2. ทางการเขียน
ใช้วิธีการเขียนจดหมายโต้ตอบ หรือการใช้บันทึกการรายงาน จดหมายประจำวัน
3. ทั้งทางวาจาและทางการเขียน
4. การใช้กิจกรรม เช่น
การจัดปฐมนิเทศ การพบปะสังสรรค์
5. การใช้อุปกรณ์ ใช้ภาพ
แผนภูมิ เครื่องขยายเสียง
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ผู้นำ
คือบุคคลที่สามารถใช้ศิลปะในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำคือ
1. ผู้นำ เป็นบุคคลที่ต้องมีบุคลิก
ลักษณะนิสัยที่แสดงออกถึงภาวะผู้นะ
2. ผู้ตาม
คือผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามผู้นำ
3. สถานการณ์ สภาพแวดล้อม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผู้นำต้องทันข่าว ทันเหตุการณ์
หน้าที่ของผู้นำ
1. ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อองค์การ
2. ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
3. ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานอื่นในองค์การเดียวกัน
4. ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
บทที่ 8
การประสานงาน (
Coordination )
การประสานงาน คือ
การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่น
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การอย่างสมานฉันท์และมีประสิทธิภาพ
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.
ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป้ไปตามวัตถุประสงค์
2.
เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของการทำงานโดยไม่จำเป็น
3.
เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
หลักการประสานงาน
1.
จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี
2.
จัดให้มีระบบของความร่วมมือที่ดี
3.
จัดให้มีระบบการประสานงานที่ดี
4.
จัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน
5.
จัดให้มีการป้อนงานในรูปกระบวนการบริหารที่ครบวงจร
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ ( Decision Making )
การวินิจฉัยสั่งการ คือ การสั่งงาน หมายถึง การตกลงที่จะยุติข้อขัดแย้ง
โต้เถียง
โดยให้มีการกระทำไปในทางหนึ่งทางใดที่ได้มีการพิจารณาและตรวจสอบอย่างรอบคอบแล้ว
การตัดสินใจและวินิจฉัยสั่งการ
ผู้บริหารควรมีหลักการ คือ ความถูกต้อง การยอมรับ
และสามารถปฏิบัติได้โดยคำนึงถึงกฎหมายบ้านเมือง และปทัสถานทางสังคม
กระบวนการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
ขั้นที่ 2 ค้นหาทางเลือก
ขั้นที่ 3 การประเมินทางเลือก
ขั้นที่ 4 ทำการตัดสินใจ
ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
ขั้นที่ 6 การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อน
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษา
เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดบริหารทางการศึกษาแก่สังคมได้อย่างดี งานบริหารโรงเรียนได้แก่
กระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน นักเรียน อาคารสถานที่ งานธุรการ
และการติดต่อสร้างสัมพันธ์กับชุมชน
การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารต้องรู้
รับผิดชอบ ควบคุมดูแล การวางแผนวิชาการ การจัดแผนการเรียน
การจัดตารางการเรียนการสอน การจัดครูเข้าสอน การพัฒนาการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาครูด้านวิชาการ การจัดกิจกรรมนักเรียน
การวัดและประเมินผลการเรียน งานทะเบียนนักเรียน และการประเมินผลทางวิชาการ
การบริหารบุคคล
คือ การใช้คนให้ทำงานให้ทำงานได้ผลดีที่สุด ภายในระยะเวลาสั้นที่สุด สิ้นเปลืองเงินวัสดุอุปกรณ์น้อยที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น