วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555



ทดสอบปลายภาค


1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ดในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา แท็บเล็ตเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีพ แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน การใช้แท็บเล็ตจึงต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้
ที่มา http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028
 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492166
 http://www.dailynews.co.th/technology/150713 

2. อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
อาเซียน มีชื่อเต็มว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่  บรูไนดารุสซาลาม , ราชอาณาจักรกัมพูชา , สาธารณรัฐอินโดนีเซีย , สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว , มาเลเซีย , สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียน-มาร์ , สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ , สาธารณรัฐสิงคโปร์ , ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ให้สามารถทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ การเกษตร อุตสาหกรรม การคมนาคม รวมทั้งการช่วยเหลือให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  โดยอินโดนีเซีย วางตัวเป็นผู้ส่งออกไปยังตะวันออกกลาง สิงคโปร์และมาเลเซียก็วางตัวเป็นผู้ผลิตบุคลากรส่งออกทางด้านการแพทย์
ประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิสัยทัศน์เดียว เอกลักษณ์เดียว และประชาคมเดียว เพื่อความเจริญมั่นคงของประชากร ทรัพยากร และเศรษฐกิจ
การศึกษาไทยจึงเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก
ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายให้นักเรียนที่จบชั้น ป.6 สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคม โดยได้เร่งผลักดันและดำเนินการในหลายด้าน เช่น
1. สร้างศูนย์อำนวยการเพื่อให้ครูเจ้าของภาษามาสอน
2.พัฒนาการเรียนการสอนแบบ English for Integrated Studies (EIS) จะมีการบูรณาการการสอนภาษาอังกฤษในวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
3.พัฒนาห้องเรียนแห่งอนาคต (The Global Class) ซึ่งเป็นห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงการเรียนการสอนได้อย่าง
4.การอบรมภาษาอังกฤษให้กับครู เพื่อให้ครูยุคใหม่สามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ และใช้ ICT ได้
               การเตรียมความพร้อมของการศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
๑. การสร้างประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ให้ประเทศไทยเป็น Education Hub  มีการเตรียมความพร้อมในด้านกรอบความคิด พัฒนาสมรรถนะให้พร้อมจะอยู่ร่วมกันและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน การศึกษา โดยให้มีการร่วมมือกันใน ๓ ด้านคือ ด้านพัฒนาคุณภาพการศึกษา การขยายโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการและจัดการศึกษา
๒. ขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน


ที่มา : สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

http://web62.sskru.ac.th/aseansskru/maxsite/name=page&file
http://www.osmiebkk.moe.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=98:-2558-&catid=35:adnews&Itemid=125
http://www2.rsu.ac.th/news/readinesstoasean


3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
" การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา )และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้ "
ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
  • ศรัทธา คนเป็นครูต้องมีความศรัทธาในวิชาชีพของตนเอง ต้องมีความรักในความเป็นครู สามารถปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กได้
  • ความไว้วางใจ ครูต้องสร้างความไว้วางใจกับครูผู้ร่วมงานและกับนักเรียนให้ได้ จะต้องปฏิบัติตนอย่างจริงใจกับนักเรียนให้นักเรียนไว้วางใจ เพราะเมื่อนักเรียนไว้วางใจครูแล้วนักเรียนก็จะสามรถปรึกษาครูได้ทุกเรื่องเมื่อมีปัญหา ทำให้ครูสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนได้อย่างเต็มที่
  • สร้างแรงบันดาลใจ ครูจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เพราะการสร้างแรงบันดาลใจจะทำให้มีพลังในการดำเนินชีวิต ในการเป็นครูที่ดีของนักเรียน เมื่อครูมีแรงบันดาลใจเป็นของตนเองแล้ว ครูก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนได้
  • ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล ครูจะต้องยอมรับให้ได้ว่ามนุษย์ทุกคนแตกต่างกัน ต่างพ่อต่างแม่ ต่างคนก็ต่างความคิด ดังนั้นครูจะต้องยอมรับฟังความคิดของนักเรียนทุกคนโดยที่รับฟังอย่างมีเหตุผล ไม่มีอคติกับนักเรียนคนใดคนหนึ่ง เพราะถือว่านักเรียนทุกคนเป็นลูกศิษย์ของเรา     
ครูที่จะเป็นผู้นำทางวิชาการ หรือผู้นำทางการเรียนการสอน ควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1. หาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่าน การหาหนังสือที่ติดอันดับขายดีที่สุดมาอ่านทำให้เราเป็นคนที่แสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆ หนังสือที่ขายดีย่อมมีข้อคิด คำสอน หรือเนื้อหาที่ดี ทำให้เราได้รู้ในหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังไม่รู้ และในบางเรื่องที่เรารู้แล้วเราอาจสามารถต่อยอดความรู้เดิมได้อีกด้วย
2. อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย มนุษย์ทุกคนควรอยู่กับปัจจุบัน ไม่อยู่กับอดีตหรือเพ้อฝันถึงอนาคต เพราะอดีตเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วเราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้วนอกจากนำบทเรียนในอดีตมาแก้ไขปรับปรุงให้อยู่กับปัจจุบัน ครูทุกคนควรทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่กับโลกปัจจุบัน และนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาปรับใช้ในชีวิต
3. หาข้อมูล มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถในศาสตร์วิชาชีพของตน และครูจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานของเด็กแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเด็กในแต่ละช่วงวัยอายุ ว่าเด็กช่วงอายุไหนควรสอน ดูแล อบรมอย่างไรจึงจะเหมาะสม
4. ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูจะต้องหาวิธีการสอนที่ตื่นเต้น น่าสนใจ และในการสอนแต่ละครั้งควรชักจูงให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน กระตุ้นให้นักเรียนกล้าแสดงออก ให้นักเรียนแสดงออกถึงการเป็นภาวะผู้นำ โดยทุกคนในชั้นเรียนสามารถเป็นผู้นำกันได้ทุกคน โดยผลัดเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์
5. กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ในการจัดกระบวนการเรียนการสอน ครูจะต้องให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เด็กมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนๆ มีการช่วยเหลือกัน มีการให้คำปรึกษาแนะนำกัน และที่สำคัญการทำงานเป็นกลุ่มจะทำให้เกิดความสามัคคีภายในหมู่คณะ
6. เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟัง การที่เด็กได้รับฟังวิทยากร จะทำให้เด็กได้รับความรู้ที่แปลกใหม่ ทำให้เด็กสนใจที่จะใฝ่รู้ เพราะวิทยากรแต่ละท่านจะถ่ายทอดความรู้ให้เด็กอย่างหลากหลาย และมีวิธีการถ่ายทอดที่แตกต่างกันออกไป ทำให้น่าสนใจค้นหา
7. ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูควรจะฝึกให้เด็กคิดเอง มิใช่ป้อนความรู้ให้เพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้เด็กไม่กล้าที่จะคิด ไม่มั่นใจกับความคิดของตนเอง ครูจึงควรเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่ โดยครูเป็นผู้รับฟังความคิดของนักเรียนอย่างตั้งใจ และยอมรับความคิดที่แตกต่างของนักเรียนทุกคน 
ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219


4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  ข้าพเจ้ามีวิธีการเรียนรู้โดยใช้บล็อก คือ ข้าพเจ้าจะศึกษาหาความรู้ และจะทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้โดยการศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้วนำมาประมวลเป็นความรู้ของตนเอง หลังจากนั้นก็นำมาโพสลงในบล็อก และข้าพเจ้ายังได้ศึกษาหาความรู้ โดยการอ่านบทความในบล็อกของอาจารย์ และของเพื่อนๆ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ที่หลากหลาย 
หากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อกต่อไป ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้ทำให้ทุกคนได้แสดงออกทางความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ ทุกคนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทุกที่ ทุกเวลา และเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้ด้วย
ข้าพเจ้าคิดว่าโอกาสข้างหน้าทุกคนจะให้ความสำคัญในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะที่โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาต่างๆก็ให้ความสำคัญ เพราะการเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดของตนเองอย่างเต็มที่
ข้าพเจ้าจะให้คะแนนวิชานี้ คือ ถ้าคะแนนเต็ม 10 ข้าพเจ้าจะให้เต็ม 10 เพราะการจัดการเรียนรู้โดยใช้บล็อกเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามาส่วนร่วมในการเรียนรู้ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา สะดวก และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
ข้าพเจ้าต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ เกรด A เพราะ
1. ข้าพเจ้ามีความพยายามมากในการเรียนวิชานี้ ข้าพเจ้ามีความพยายามในการนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน นั่นคือโน้ตบุ๊คมาเรียนวิชานี้ทุกครั้ง เมื่อโน้ตบุ๊คของข้าพเจ้าเข้าอินเตอร์เน็ตไม่ได้ ก็สามารถทำงานที่อาจารยืสั่งได้ ข้าพเจ้าก็มีความกระตือรือร้นรีบนำโน้ตบุ๊คไปให้ทางร้านซ่อมดูว่าเกิดปัญหาอะไร
2. ข้าพเจ้าเข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
3. ข้าพเจ้าทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4. ข้าพเจ้าทำงานบนบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
5.สิ่งที่ข้าพเจ้าตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9


การจัดห้องเรียน

ห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใสทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน

การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน ควรจัดให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
         การจัดโต๊ะครู ควรจัดให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้อง
         การจัดป้ายนิเทศ ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง
         การจัดสภาพห้องเรียน ต้องจัดให้ มีอากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างพอเหมาะ ปราศจากสิ่งรบกวน และมีความสะอาด

กิจกรรมที่ 8


ครูในอุดมคติ
ครูในอุดมคติของข้าพเจ้า คือต้องเป็นนักประชาธิปไตย ครูจะต้องไม่เป็นเผด็จการ ต้องให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยยินดีรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนอย่างจริงใจและจริงจัง โดยเมื่อนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียน ครูจะให้นักเรียนได้มีความสุขในการเรียนหนังสือ ครูจะไม่สอนให้นักเรียนโตขึ้นไปเป็น เจ้าคนนายคนแต่จะสอนให้นักเรียนโตขึ้นไป รับใช้ประชาชนครูจะสอนให้นักเรียนแต่ละคนรู้จักเสียสละไม่ไปแก่งแย่งชิงดีหวังเป็นที่หนึ่ง ครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักความมีเมตตากรุณา ไม่แบ่งเขาแบ่งเรา และครูจะนำพาลูกศิษย์สู่ปัญญาอันมีความงาม ความดี ความจริงอยู่ด้วย

 โดยครูคณิตศาสตร์ จะสอนคณิตศาสตร์ด้วยความร่าเริง ใจดี ให้นักเรียนที่ชอบเรียน ส่วนคนที่ไม่ชอบเรียนหรือไม่เก่งนัก ครูคณิตจะเอาใจใส่ไม่ต่างกับพวกที่ชอบเรียน ครูจะรับฟังพวกเขา เป็นเพื่อนพวกเขา โดยให้การบ้านพอประมาณตามความสามารถของแต่ละบุคคล ไม่ใช่ ยัดเยียดการบ้าน และบังคับนักเรียนให้เก่งคณิตศาสตร์

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

การจัดการศึกษามุ่งเน้นด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรม การจัดการเรียนรู้เน้นให้นักเรียนคิดด้วยตนเอง เน้นทักษะการคิดของนักเรียน โดยครูเป็นผู้ชี้นำและใช้คำถามให้เกิดการอภิปรายระหว่างนักเรียน สอดคล้องกับแนวการจัดการ เรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด ซึ่งสามารถสอดแทรกทักษะ/กระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการให้เหตุผล ทักษะการเชื่อมโยง เข้าไปในการจัดการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้นักรียนสามารถฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และสามารถให้เหตุผลประกอบได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาวิชาเข้ากับชีวิตจริง เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตจริงและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้


2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร

ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอน คือ ข้าพเจ้าจะสอนโดยให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการสอนให้นักเรียนเห็นรูปธรรมแล้วเชื่อมโยงเข้าสู่นามธรรม ที่นำไปสู่คำถามเพื่อการแก้ปัญหา โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีโอกาสนำเสนอความคิดของตนเอง โดยข้าพเจ้าจะจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอนให้พร้อมและเพียงพอต่อนักเรียน และสร้างบรรยากาศให้น่าเรียน


3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร



ข้าพเจ้าจะออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสอนที่สอนให้นักเรียนเห็นรูปธรรมแล้วเชื่อมโยงเข้าสู่นามธรรม ให้นักเรียนคิดและแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม มีโอกาสนำเสนอความคิดของตนเอง ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้เดิมของนักเรียน และข้าพเจ้าจะจัดการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยจัดบรรยากาศให้น่าเรียน


บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล วารสาน ทักษิน

1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ความเป็นครูของพระองค์ท่านคือ ทรงทำให้ดู เป็นครูที่พยายามที่จะจูงใจนักเรียนให้มาสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนรู้ให้นักเรียนเข้าใจ และเมื่อจะสอนให้คนดี ครูต้องดีก่อน จะสอนให้เด็กทำอะไรครูต้องเป็นอย่างนั้นก่อน การเรียนไม่ใช่เรียนในเฉพาะห้องเรียนเท่านั้นแต่บางอย่างเราต้องเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จริงด้วย และพระองค์ท่านยังทรงสอนให้เคารพคน ให้รู้จักคน ให้เข้าใจคน ให้ รู้ รัก สามัคคี ปรองดองกัน
2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน คือข้าพเจ้าจะนำแนวทางการสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้ โดยในการจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ข้าพเจ้าจะทำให้นักเรียนดูก่อน เพื่อที่จะจูงใจให้นักเรียนสนใจ พยายามสอนให้นักเรียนเข้าใจ จะสอนในด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย และข้าพเจ้าจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนด้วย

3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ข้าพเจ้าจะออกแบบการเรียนการสอนโดยข้าพเจ้าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะทำให้นักเรียนดูก่อน เช่น สอนเรื่องการประดิษฐ์ของใช้จากทรงเรขาคณิต ข้าพเจ้าก็จะประดิษฐ์ของใช้จากทรงเรขาคณิตให้นักเรียนดูก่อน เพื่อจูงใจให้นักเรียนสนใจ เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจก็อธิบายและตอบคำถามจนนักเรียนเข้าใจ และในการสอนของข้าพเจ้าแต่ละครั้งข้าพเจ้าจะสอดแทรกทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนด้วย


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7



กิจกรรม 7
โทรทัศน์ครู

สอนเรื่อง ตังเตเรขาคณิต

ผู้สอนชื่อ คุณครูโฉมนภา วัชรัมพร โรงเรียนสายปัญญารังสิต

ระดับชั้นที่สอน มัธยมศึกษาตอนต้น

เนื้อหาที่ใช้สอน
สูตรการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต
การหาพื้นที่รูปเรขาคณิต ( สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมด้านขนาน สามเหลี่ยมหน้าจั่ว สามเหลี่ยมมุมฉาก และสี่เหลี่ยมคางหมู )

จัดกิจกรรมการสอนด้าน(สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
จัดกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

ด้านสติปัญญา =IQ
- นักเรียนสามารถนำสูตรการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตมาใช้ในการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
- นักเรียนสามารถคำนานหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตได้
ด้านอารมณ์ =EQ
- นักเรียนมีส่วนร่วมในการร้องเพลงสูตรการหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
- นักเรียนสนุกในการเรียน มีเสียงหัวเราะ หน้าตายิ้มแย้มขณะที่ทำกิจกรรม

ด้านคุณธรรม จริยธรรม =MQ
- นักเรียนมีความสามัคคี ช่วยเหลือเพื่อน ไม่เห็นแก่ตัว
- นักเรียนรวมกันทำกิจกรรมอย่างน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ

บรรยากาศการจัดห้องเรียน
ในห้องเรียน ห้องเรียนมีการจัดโต๊ะแบบนั่งคู่สองคน ข้างหน้าต่างมีต้นไม้มีสีเขียวสดใส บอร์ดห้องมีการจัดตกแต่งที่สวยงาม
                   ใต้อาคารเรียน มีบรรยากาศดี มีแสงสว่างเพียงพอ อาคารสะอาด รอบๆอาคารมีต้นไม้




กิจกรรมที่ 6

กิจกรรมที่ 6




กิจกรรมที่ 5


กิจกรรมที่ 5


ชื่่อ ครู เอนก พรมศรี
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน



ข้อมูลด้านการศึกษา
         ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์(คบ.)มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรร์
         ระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์(กศ.ม.)มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
ผลงานของครู
          ครูแกนนำสาขาคณิตศาสตร์ระดับจังหวัด ปีการศึกษา 2545
          ครูเกียรติยศสาขาคณิตศาสตร์ระดับเขตพื้นที่ ปีการศึกษา 2547
          ครูดีในดวงใจระดับโรงเรียน ปีการศึกษา 2549
          รางวัลหนึ่งแสนครูดี ของคุรุสภา ปีการศึกษา 2554

นักเรียนประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง

            เราสามารถนำแนวการสอน การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนของครูอเนก พรมศรี มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคตได้ เพราะครูอเนก พรมศรีเป็นครูดีที่นักเรียนรัก เป็นครูที่มีความรู้ทั้งด้านวิชาการ และมีคุณธรรม จริยธรรม มีความเป็นครูดีเด่น